ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทเรียนวิทยาการคำนวณ ม.4 ว31103 บทที่ 2 เรื่อง การแก้ปัญหาและขั้นตอนวิธี

2.1  การแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
               
                ก่อนจะแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์  นักเรียนจะต้องทำความเข้าใจกับปัญหาและความต้องการให้ชัดเจน แล้วจึงพัฒนาขั้นตอนวิธีที่สามารถใช้งานได้


ดังนั้น  ก่อนจะแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์  นักเรียนจะต้องทำความเข้าใจกับปัญหาและความต้องการให้ชัดเจน  แล้วจึงพัฒนาขั้นตอนวิธีที่สามารถใช้งานได้  พิจารณาสถานการณ์ต่อไปนี้
                ขณะนี้เป็นเวลาเที่ยง  นักเรียนเหน็ดเหนื่อยจากการเรียนมาตั้งแต่เช้าจึงต้องการจะสั่งคอมพิวเตอร์ว่า  "เลือกอาหารกลางวันที่เหมาะสมกับฉันให้หน่อย"
                ปัญหาดังกล่าวคอมพิวเตอร์สามารถช่วยเลือกอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการได้  ถ้ามีข้อมูลเพียงพอและเงื่อนไขในการตัดสินใจที่ชัดเจน

       2.1.1  ข้อมูล
                 หากต้องการให้คอมพิวเตอร์เลือกอาหารกลางวันที่เหมาะสมได้ จะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับรายการอาหารกลางวัน และถ้าต้องการเลือกอาหารที่เหมาะสม อาจต้องมีข้อมูลประกอบเพิ่มเติม เช่น ประเภท ราคา คุณค่าทางโภชนาการ คุณภาพ และความนิยม
                 นอกจากนี้ ถ้ามีข้อจำกัดในการเลือกรับประทานอาหาร เช่น การแพ้อาหาร ไม่รับประทานอาหารรสจัด คอมพิวเตอร์จะต้องทราบข้อมูลนี้ด้วย เพื่อป้องกันการเลือกอาหารที่นักเรียนไม่สามารถรับประทานได้

       2.1.2  เงื่อนไขที่ชัดเจน
                 จากสถานการณ์ข้างต้น คำว่า "เหมาะสม" เป็นคำที่มีความหมายคลุมเครือ เพราะคำว่า "เหมาะสม" ของแต่ละคนแตกต่างกัน ดังนั้นการใช้ข้อมูลเพียงอย่างเดียวอาจไม่พอที่จะทำให้คอมพิวเตอร์เลือกอาหารกลางวันตามความเหมาะสมได้ เนื่องจากอาหารกลางวันที่เหมาะสมนั้นมีหลายแบบ เช่น เหมาะสมกับความชอบ เหมาะสมกับราคา ในปัจจุบันโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั่วไปไม่สามารถจัดการกับความคลุมเครือนี้ได้ จึงจำเป็นจะต้องระบุเงื่อนไขให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น  ดังตารางที่ 2.1

ถ้าปัญหามีการระบุเงื่อนไขได้ชัดเจน จะสามารถช่วยให้การระบุขอบเขตของข้อมูลที่ต้องการได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ใบงานที่ 2.1  หนังสือวิทยาการคำนวณ บทที่ 2 หน้า 34

       2.1.3  ขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหา
                 นอกจากข้อมูลและเงื่อนไขที่ชัดเจนแล้ว  การพัฒนาโปรแกรมจำเป็นต้องมีขั้นตอนในการแก้ปัญหาที่ชัดเจนด้วย  ในส่วนนี้จะออกแบบขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาโดยใช้ตัวอย่างข้อมูลรายการอาหารกลางวันดังตารางที่  2.2

การทำงานแต่ละขั้นตอน ดังนี้
        ขั้นตอนที่ 1  เลือกรายการอาหารทั้งหมดที่เป็นอาหารหลัก
        ขั้นตอนที่ 2  จากรายการอาหารหลักที่คัดเลือกจากขั้นตอนที่ 1 นำคะแนนคุณภาพและคะแนนความนิยมมาคำนวณคะแนนสำหรับเลือกอาหาร
        ขั้นตอนที่ 3  พิจารณารายการอาหารจากตารางที่ได้คำนวณคะแนนแล้วเลือกอาหารที่มีคะแนนสูงที่สุด  ซึ่งในที่นี้ได้รายการอาหารอันดับที่ 3 คือ  ข้าวยำ  เพราะมีคะแนนสูงสุดคือ  7.2  คะแนน

       2.1.4  ตัวแปร


2.2  การระบุข้อมูลเข้า  ข้อมูลออก  และเงื่อนไขของปัญหา



2.3  การออกแบบขั้นตอนวิธี
       2.3.1  ตัวอย่างการออกแบบขั้นตอนวิธี
       2.3.2  การออกแบบและพิจารณาเงื่อนไข
                 1)  การสร้างเงื่อนไขอย่างง่าย
                 2)  การสร้างเงื่อนไขด้วยตัวดำเนินการตรรกะ

2.4  การทำซ้ำ
       2.4.1  การทำซ้ำในรายการ
       2.4.2  การทำซ้ำด้วยเงื่อนไข

2.5  การจัดเรียงและค้นหาข้อมูล
       2.5.1  การจัดเรียงข้อมูล
                 1)  การจัดเรียงแบบเลือก
                 2)  การจัดเรียงแบบแทรก
       2.5.2  การค้นหาข้อมูล     










ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เฉลย แบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง แนวคิดเชิงนามธรรม รหัสวิชา ว21104 วิทยาการคำนวณ

เฉลย แบบทดสอบก่อนเรียน แนวคิดเชิงนามธรรม

วิทยาการคำนวณ ว32103 ม.5 บทเรียนที่ 1 (บทที่ 1 สสวท.) ใบกิจกรรมที่ 1.1 ใคร ๆ ก็สามารถใช้ข้อมูลได้

วิทยาการคำนวณ ม.3 ใบกิจกรรมที่ 11.1 ปัญหาคืออะไร